ถอดรหัสวัฒนธรรมผ้าศรีคูณ
- เรื่องเล่าสำนัก 6
- Sep 25, 2019
- 1 min read
Updated: Sep 26, 2019
โครงการส่งเสริมสุขภาวะเยาวชน
โรงเรียนบ้านนาสีนวล ตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
โครงการนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากความสนใจของครู ที่อยากส่งเสริมให้เยาวชนเกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิดหรือชุมชนของตนเองผ่านการเรียนรู้เรื่องการทอผ้า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนแต่เยาวชนไม่เคยได้รับรู้มาก่อน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้เยาวชนได้ลงมือปฏิบัติจริง ครูทำหน้าที่ช่วยสนับสนุน อำนวยความสะดวกให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมอย่างราบรื่นและเกิดการเรียนรู้

กิจกรรมที่เยาวชนต้องทำ ได้แก่ การสำรวจข้อมูลการทอผ้าในชุมชนด้วยการสัมภาษณ์ชาวบ้านที่เคยทอผ้ามาก่อน ทำให้ได้รับรู้ เรื่องราวในอดีตของคนเหล่านั้น เรียนรู้กระบวนการทอผ้าด้วยการฝึกทำจริงทุกขั้นตอน และให้เลือกฝึกฝนขั้นตอนที่ถนัดจนเกิดความเชี่ยวชาญ สามารถนำความรู้/ประสบการณ์ที่ได้ไปถ่ายทอดให้รุ่นน้องในโรงเรียนและคนอื่นๆ ที่สนใจได้
กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการทอผ้าเป็นอย่างดี เกิดความรู้สึกภูมิใจเห็นคุณค่าภูมิปัญญาในท้องถิ่น และทำให้เกิดความรู้สึกอยากกลับมาทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนของตนเองในอนาคต
ปัจจัย เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของโครงการ ได้แก่
1. ความสามารถของครูแกนนำโครงการ ที่มีทั้งความรู้ในประเด็นงานที่ทำ ความพยายามที่จะเข้าใจศักยภาพของเด็กและใช้ศักยภาพของเด็กตามที่มีสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ ความเข้าใจต่อบริบทชุมชนและเด็กกลุ่มเป้าหมาย การสร้างความเข้าใจกับครูคนอื่นๆ ในโรงเรียน และผู้มีความรู้ในชุมชน ตลอดจนการสื่อสารความก้าวหน้าของโครงการผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ ที่ตนเองมี รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานของเด็กโครงการ
2. วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้อย่างลึกซึ้ง
3. การมีผลงานรูปธรรมที่สะท้อนความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก และได้รับการยอมรับจากผู้คนทั้งในชุมชนและนอกชุมชน ทำให้เด็กกลุ่มเป้าหมาย เห็นคุณค่า และความสำคัญสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ ลงมือทำมากขึ้น และถ่ายทอดความรู้มีที่ต่อรุ่นน้อง และคนที่สนใจ

บทเรียนที่น่าเรียนรู้จากโครงการเพื่อนำไปขยายผล
1. การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จนเห็นทำได้และเห็นคุณค่า ต้องเน้นการลงมือทำด้วยตนเอง ทั้งการเรียนรู้คุณค่า และวิธีการปฏิบัติ การสร้างทักษะในการปฏิบัติ และได้ถ่ายทอดความรู้นำเสนอผลงานของตนเองต่อคนอื่นๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในความรู้และความสามารถของตนเอง
2. ผู้สร้างการเรียนรู้ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งการมีเครื่องมือสนับสนุนการประสานความร่วมมือผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ที่จะช่วยสร้างการเรียนรู้และลดความกังวลใจที่ต้องเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ และช่วยให้คำแนะนำในการวางบทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกันของกลุ่มเป้าหมาย ที่เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคน พร้อมให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยการติดตาม สังเกตการณ์ทำงาน ช่วยแก้ไขปัญหาคับข้องใจ และสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาและรักษาความตั้งใจเรียนรู้และปฏิบัติของกลุ่มเป้าหมายให้ต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มความมั่นใจในการดำเนินงานของกลุ่มเป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินงาน : บ้านนาสีนวล ตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
แกนนำ : คุณชินกร พิมพิลา (ครูติ๊ก)
Comments